QR code
ชื่อศูนย์ฯ :
ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
สินค้าหลัก :
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
พื้นที่เป้าหมาย (ไร่) :
37,161
เกษตรกรเป้าหมาย (ราย) :
1,072
พิกัด X :
652063
พิกัด Y :
2086839
ชื่อเกษตรกรต้นแบบ :
นายธีระศักดิ์ วงศ์ตุ้ย
ที่อยู่เกษตรกรต้นแบบ :
17 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
สถานการณ์ของพื้นที่ :
เกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านพี้ ประกอบอาชีพหลักคือปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ปลูกเป็นที่ราบและที่ลาดชัน มีความเหมาะกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เหมาะสมมาก (S1) ร้อยละ 2 ,เหมาะสมปานกลาง(S2)
ร้อยละ 17 , เหมาะสมน้อย(S3) ร้อยละ 39 และไม่เหมาะสม(N) ร้อยละ 42
ปัญหาที่ประสบ - ต้นทุนการผลิตสูง จากการใช้ปัจจัยการผลิตสูง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
- ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำ ราคาขายผลผลิตต่ำไม่คงที่ ทำให้ผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรน้อยมาก 1,300 – 1,800 บาทต่อไร่ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้น้อย และมีปัญหาหนี้สิน
แนวทางการพัฒนา :
1. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นทุนต่ำ โดยลดต้นทุนการผลิต ได้แก่ปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดวัชพืช และให้ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น
2. ปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางเลือกทดแทนในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม หรือกิจกรรมทางเลือกทดแทนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
เทคโนโลยีเด่นของศูนย์เรียนรู้ :
1. กิจกรรมการเกษตรผสมผสาน ได้แก่ ยางพารา มะขามหวาน มะนาว กาแฟไผ่ หญ้าแฝก
2. กิจกรรมลดต้นทุนการผลิต ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และพืชบำรุงดิน
3. แปลงสาธิตการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นทุนต่ำ
การนำไปใช้ประโยชน์ :
การเกษตรผสมผสาน การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นทุนต่ำ ลดต้นทุนการผลิต
หลักสูตรเรียนรู้ :
1. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นทุนต่ำ
2. เกษตรผสมผสานแบบพึ่งตนเอง ทางเลือกลด-เลิกพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
เครือข่าย :
1. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพี้
2. สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดน่าน
3. สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จังหวัดน่าน
4. โครงการธรรมชาติปลอดภัย(เครือเจริญโภคภัณฑ์)
ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ :
นายประทวน จันทร์ดี
ตำแหน่ง จนท.ผู้รับผิดชอบ :
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
หมายเลขโทรศัพท์ จนท.ผู้รับผิดชอบ :
0931304591,0622959311