QR code
ชื่อศูนย์ฯ :
ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
สินค้าหลัก :
เกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง
พื้นที่เป้าหมาย (ไร่) :
5,000
เกษตรกรเป้าหมาย (ราย) :
1,000
พิกัด X :
515357
พิกัด Y :
2184519
ชื่อเกษตรกรต้นแบบ :
นายประหยัด มงคลเทพ
ที่อยู่เกษตรกรต้นแบบ :
70 หมู่ที่ 4 ตำบลปงตำ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
สถานการณ์ของพื้นที่ :
เกษตรกรอำเภอไชยปราการส่วนมากเป็นการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ทำให้เกษตรกรมักได้รับผลกระทบจากจากความผันแปรของราคาผลผลิต ซึ่งการดำเนินการระบบการเกษตรที่มีเพียงกิจกรรมเดียว และมีการผลิตเป็นจำนวนมาก ผลผลิตที่ได้เมื่อออกสู่ตลาดพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นข้าว พืชไร่ ไม้ผล พืชผักต่างๆ เมื่อมีผลผลิตที่มีปริมาณเกินความต้องการของตลาด ก็ย่อมทำให้ราคาของผลผลิตนั้นต่ำลง ความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ ซึ่งจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความแปรปรวนในแต่ละปีที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เกิดภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง น้ำท่วมฉับพลัน อากาศแปรปรวนฉับพลัน และอื่นๆ ที่เป็นปัญหาก่อให้เกิดความเสียหายผลิตผลทางการเกษตร เป็นปัญหาต่อเกษตรกรที่มีการทำการเกษตรเพียงอย่างเดียว ดังนั้นควรมีดารส่งเสริมเกษตรกรปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง มีการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรหลายๆ อย่างรวมกัน การปลูกพืชสวน (ไม้ผล พืชผัก การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้) การเลี้ยงสัตว์ หรือการเลี้ยงปลาทดแทนรายได้จากการปลูกข้าวหรือพืชเพียงอย่างเดียวที่อาจเสียหายและได้รับผลกระทบจากสภาวะต่างๆ การทำการเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ตลอดปี เพราะการดำเนินระบบเกษตรผสมผสานซึ่งมีกิจกรรมหลายกิจกรรมในพื้นที่เดียวกันนั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีรายได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี อาจจะเป็นรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายได้ประจำฤดูกาล เกษตรกรที่เคยมีรายได้จากการปลูกข้าวหรือลำไยเพียงอย่างเดียว เมื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนเป็นระบบเกษตรผสมผสาน จะมีรายได้ประจำวันจากการขายพืชผักสวนครัว รายได้ประจำจาการปลูกข้าวหรือลำไย รายได้เสริมจากการเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เป็นต้น การลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพใช้เอง เป็นต้น
แนวทางการพัฒนา :
สำนักงานเกษตรอำเภอไชยปราการ ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(เกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ) เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาภาคการเกษตรที่เน้นความยั่งยืน ให้เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตนเองโดยไม่พึงพาหน่วยงานรัฐ โดยดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้นที่ บ้านมิตรอรัญ หมู่ที่ 4 ตำบลปงตำ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเกษตรกรต้นแบบ เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรผสมผสมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีเทคโนโลยีหลักของศูนย์ให้กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ อีกทั้งยังเป็นเกษตรกรต้นแบบในด้านการทำเกษตรอินทรีย์ การเลี้ยงหมูหลุม ศูนย์ฯแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ดูงานจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โรงเรียนและคณะศึกษาดูงาน ทั้งจากในต่างอำเภอและจากต่างจังหวัด และในปี 2559 ได้ใช้ศูนย์เป็นสถานที่จัดฝึกอบรมโครงการอบรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/2559 และจากปัญหาราคาสินค้าเกษตร ดังนั้นสำนักงานเกษตรอำเภอไชยปราการจึงเล็งเห็นว่าการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งนี้จะช่วยสามารถพัฒนาเกษตรกรให้เกิดความยั่งยืนในการผลิตสินค้าเกษตรและอาชีพต่อไป
เทคโนโลยีเด่นของศูนย์เรียนรู้ :
เป็นต้นแบบในการเรียนรู้ของชุมชนในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(เกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ) เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาภาคการเกษตรที่เน้นความยั่งยืน ให้เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตนเอง ซึ่งเทคโนโลยีหลักของศูนย์คือ การผลิตลำไยคุณภาพ การผลิตพืชผักอินทรีย์ การเลี้ยงหมูหลุม การเลี้ยงไก่พันธุ์ภูพาน การเลี้ยงกบและปลา การทำปุ๋ยหมักอัดแท่งและการทำน้ำหมักชีวภาพ
การนำไปใช้ประโยชน์ :
เกษตรกรสามารถดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตรเรียนรู้ :
1. การผลิตลำไยคุณภาพตามหลัก GAP
2. การผลิตพืชผักอินทรีย์
3. การเลี้ยงหมูหลุม
4. การเลี้ยงไก่พันธุ์ภูพาน
5. การเลี้ยงกบและปลา
6. การปรับปรุงบำรุงดิน (การทำปุ๋ยหมักอัดแท่งและการทำน้ำหมักชีวภาพ)
เครือข่าย :
1. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ลำไย) ตำบลแม่ทะลบ
2. ศูนย์เรียนรู้มีชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลหนองบัว
3. ศูนย์การเรียนรู้เพื่อคุณภาพชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ :
นางสาวอรพรรณ ขันสุรินทร์
ตำแหน่ง จนท.ผู้รับผิดชอบ :
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
หมายเลขโทรศัพท์ จนท.ผู้รับผิดชอบ :
053457009